top of page

Music

ประวัติชีวิตส่วนตัว

 

เกิด  เมื่อวันศุกร์ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498

        ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

        ใช้ชีวิตวัยเยาว์ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

    

ที่อยู่ปัจจุบัน     

        208 ถ.ป่าตัน ต.ป่าตัน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300

        Email : adsoontaree@gmail.com

        โทรศัพท์ :  08 6911 0005, 08 1530 5310

 

ครอบครัว    มีน้องชายร่วมบิดามารดา 3 คน คือ 

        1. นายภูริทัต เวชานนท์ 

        2. นายสุนทร เวชานนท์ 

        3. นายเกษมสันต์ เวชานนท์ 

 

    สุนทรี เล่าว่า คุณพ่อชอบวรรณคดีของสุนทรภู่มาก จึงตั้งชื่อลูกสาวคนโตว่า สุนทรี และลูกชายคนหนึ่งว่า สุนทร และได้ปลูกฝังให้ลูกๆ รักการอ่าน ดนตรี และศิลปะการแสดงของไทย เช่น การขับเสภาขุนช้างขุนแผน เป็นต้น 

    

    สมรสกับนาย Terry Commins ปัจจุบันแยกทางกัน มีทายาทด้วยกัน 2 คนคือ 

    1. นาย Andrew Commins จบการศึกษาด้านการบริหารงานโรงแรม ที่ประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันกลับมาเป็นเชฟที่ร้านอาหารเฮือนสุนทรี เวชานนท์ 

    2. นางสาวลานนา คัมมินส์ ผู้สืบทอดสายเลือดศิลปินจากแม่ เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยมีบทเพลงที่ถือว่าเป็นการแตกยอดจากเพลงโฟล์คซองคำเมือง ไปเป็นเพลงป๊อบที่ใช้ภาษาคำเมืองในบทเพลง ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป 

 

ประวัติการศึกษา

 

พ.ศ 2504

ประถมศึกษา : โรงเรียนรัตนานุสรณ์ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

 

พ.ศ 2512

มัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนรัตนานุสรณ์ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

 

พ.ศ.2515

ศึกษาต่อด้านการบัญชี โรงเรียนพรหมภูเบศการบัญชี อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แต่เรียนไม่จบ เนื่องจากต้องทำงาน

 

ประวัติการทำงาน

 

พ.ศ. 2516-2517  เป็นพนักงานต้อนรับ โรงแรมปรินส์ เชียงใหม่

พ.ศ. 2518-2520  เป็นพนักงานร้านท่าแพบรรณาคาร โดยมีเจ้าของคือ คุณมานิด อัชวงศ์ ผู้จัดการส่วนตัวคุณจรัล มโนเพ็ชร ซึ่งเป็นผู้ชักนำเข้ามาร้องเพลง

 

    สุนทรี เล่าให้ฟังว่า ทำงานตั้งแต่อายุ 15-16 เข้ามาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ช่วงที่สงครามเวียดนามกำลังจบ ตอนนั้นฝรั่งอเมริกัน จีไอ เริ่มเข้ามาอยู่ในเมืองไทย มีฐานทัพอยู่สัตหีบ อยู่ จ.อุดรธานี บางส่วนประปรายมาอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ ระบบเมียเช่าได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อตอน พ.ศ.นั้น (ปี 2516-2517) วัฒนธรรมฝรั่งสังคมตะวันตกเริ่มเข้ามา เมียเช่าเริ่มจับมือถือแขนกับฝรั่งข้างถนน คนไทยเห็นเข้าก็เอาอย่าง ขณะนั้นอายุ 16-17 ปี เป็นข้อต่อรอยต่อของการเปลี่ยนวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงเริ่มเกิดขึ้นในช่วงนั้น เชียงใหม่เริ่มเปลี่ยน

    “ได้ไปทำงานกับ คุณมานิต อัชวงศ์ ผู้จัดการของคุณจรัล มโนเพ็ชร ขณะนั้นคุณมานิต มีร้านที่ใหญ่มากเป็นร้านยี่ปั๊ว ร้านขายหนังสือพิมพ์ อยู่บนถนนท่าแพ มีเทปเพลงขาย เป็นร้านที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่รองจากสุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์ โดยบนชั้น 2 มีการ Draft เทป เพลงละ 2 บาท เป็นระบบเทปใครอยากได้เพลงอะไรก็จดชื่อเพลง และชื่อนักร้องมา หนึ่งม้วนจะอัดได้ 20 เพลง แล้วเราก็เป็นคนก็อปปี้จากเทปหรือแผ่นเสียง ขายเพลงละ 2 บาท หน้าที่ของสุนทรี อยู่ตรงนี้ จึงได้เจอ จรัล มโนเพ็ชร”  

    “มีความสุขมาก เริ่มงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า จนถึง 3 ทุ่มครึ่ง ปิดร้าน เป็นเด็กบ้านนอก ไม่เคยฟังเพลงคลาสสิคก็ได้มาฟังเอาตอนนั้น ฟังตั้งแต่ลูกทุ่งจนถึงเพลงคลาสสิค จึงได้มีโอกาสได้เจอคุณจรัล ไปเล่นกีต้าร์ ตอนกลางวันคุณจรัล จะทำงานที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นผู้ช่วยสมุหบัญชี ส่วนตอนกลางคืนจะไปเล่นดนตรีโฟลค์ในคอฟฟี่ช็อพ”

                    (ประชาชาติธุรกิจ)

 

พ.ศ. 2520          ร้องเพลงร่วมกับ จรัล มโนเพ็ชร ในเพลง สาวมอเตอร์ไซค์ เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตการร้องเพลง 

 

พ.ศ.2520            ร้องเพลง น้อยไจยา คู่กับจรัล มโนเพ็ชร 

        

    “เมื่ออายุ 23 ปี เพลง “น้อยใจยา” ได้ถือกำเนิดขึ้น   “เพลงน้อยใจยา รักที่สุดถือเป็นเพลงครู ทุกเวทีต้องร้องเพลงนี้ แล้วมันเหมือนเราได้ใกล้ชิดกับจรัล เหมือนกับว่าร้องคู่กัน มีการตอบโต้กัน เหมือนเขาอยู่ใกล้เราตลอดเวลา แค่ฟังเพลงนี้เหมือนเขายังอยู่กับเราเพราะเสียงมันพันกันใกล้ชิดกันมากจนไม่มีทางที่จะแยกออกจากกันได้อีกแล้ว คือช่วงขณะหนึ่งของการมีชีวิตอยู่เราคิดว่าเพลงนี้ที่สุด”

 

    “แต่เพลงล่องแม่ปิงก็ถือว่าเป็นเพลงชาติเชียงใหม่ตอนนี้นะ (ฮา) ก็เป็นเพลงที่ทรงคุณค่า เราถือว่าเป็นเพลงที่สุดแล้ว งดงามที่สุดของจรัล ที่พี่ได้ขับร้อง ถือว่าเป็นเพลงที่สง่างามที่สุด”

 

พ.ศ. 2521     โฟล์คซองคำเมือง อัลบั้มแรก ถือกำเนิดขึ้นมา โดย 9 บทเพลงในอัลบั้ม (สาวมอเตอร์ไซค์ ลืมอ้ายแล้วกา คนสึ่งตึง น้อยไจยา เสเลเมา อุ๊ยคำ ผักกาดจอ พี่สาวครับ และของกินคนเมือง) ยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน 

 

พ.ศ.2534      แยกทางกับสามี กลับมาใช้ชีวิตที่จ.เชียงใหม่ บ้านเกิด พร้อมกับลูกชายหญิงสองคน ในช่วงเวลานี้ สุนทรีได้กลับมาร้องเพลงอีกครั้งหนึ่ง โดยร้องเพลงในร้านอาหารเพื่อหารายได้เลี้ยงลูกทั้งสอง การกลับมาของเธอได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงเป็นอย่างดี ทำให้เธอตัดสินใจเปิดร้านอาหารเฮือนสุนทรีขึ้น 

 

พ.ศ.2536      เปิดร้านอาหารเฮือนสุนทรี เวชานนท์ ที่ริมแม่น้ำปิง ถ.วังสิงห์คำ และร้องเพลงที่นี่ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดเป็นเวลา13 ปี จากนั้นได้ย้ายร้านไปเปิดที่ ถ.ป่าตัน ที่ริมแม่น้ำปิงเช่นเดียวกัน เธอยังคงร้องเพลงที่ร้านทุกวันเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน             

            

ภูมิหลังของสุนทรี เวชานนท์

 

    สุนทรี เวชานนท์ เป็นศิลปินโดยสายเลือด โดยมีคุณพ่อวิชัย เวชานนท์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรักในการขับร้องเพลงให้กับเธอ รวมถึงการปลูกฝันการรักการอ่าน และรักในศิลปะ โดยในวัยเยาว์นั้น พ่อมักจากเล่านิทาน ขับเสภาให้ฟังอยู่เสมอ ทำให้เธอได้ซึมซับสิ่งเหล่านี้มา 

    เอกลักษณ์ของสุนทรี เวชานนท์ คือการร้องเพลงโดยใช้อารมณ์นำ สุนทรีไม่ได้เรียนด้านการขับร้อง หรือดนตรีมา มีเพียงการถ่ายทอดความรักในศิลปะด้านนี้จากผู้เป็นพ่อ  และการแนะนำจากจรัล มโนเพ็ชร ซึ่งถือว่าเป็นครูคนแรกในด้านการร้องเพลงของเธอ ทุกเพลงที่เธอขับร้อง เธอจะศึกษาเนื้อหา เรื่องราวในเพลง ตีความหมาย และนำตัวเองเข้าไปอยู่ในบทเพลงนั้นๆ ให้อารมณ์นำพาเสียงของเธอขับร้องออกมาเป็นบทเพลง จึงทำให้บทเพลงหลายๆ เพลงของเธอได้รับการจดจำ โดยกระบวนการทำงานจากภายในของเธอ  โดยเธอให้สัมภาษณ์ไว้ใน ประชาชาติธุรกิจ ว่า

 

 “สุนทรี” เติบโตที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ พ่อเป็นคน จ.จันทบุรี แม่เป็นคนบ้านแม่หล่าย จ.แพร่  “พ่อเป็นครูใหญ่อยู่ที่ อ.ฝาง แม่เป็นแม่บ้านธรรมดา พ่อจะเป็นคนร้องรำทำเพลง ขับเสภา ฉ่อย ลำตัดจะเก่ง เป่าเมาท์ออแกน เป็นครูจนๆไม่มีเครื่องดนตรีอย่างอื่น ปี่พาทย์ก็เล่นได้ เก่ง เป็นคนที่น่ารักมาก ไม่เคยมีคำหยาบหลุดออกมาจากปากพ่อเลย”

 

 

 

สุนทรี พูดถึงการใช้ภาษา และวัฒนธรรม ในบทเพลง ในสังคม

นาทีที่ 2.30 พูดถึงพ่อที่ผลักดันให้ฟังเพลงไทยเดิม และ นาทีที่  3.35 ขับเพลงชนนีครวญ

  • Facebook Classic
Facebook
  • c-youtube
YouTube

© 2023 by DANGEROUS GEE. All rights reserved. 

bottom of page